บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2018
รูปภาพ
แนะการศึกษายุค4.0 ใส่ใจการอ่าน ครูดูแลเด็ก             เมื่อวันที่ 8 พ.ย.2560 ที่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) จัดงาน "ซีพี ออลล์ กับยุทธศาสตร์การศึกษา 2561" โดย  ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมช.ศึกษาธิการ  กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "ยุทธศาสตร์การศึกษาไทยยุค 4.0 คุณธรรม-ความเพียร-ซื่อสัตย์สุจริต-รู้จักสามัคคี ตอนหนึ่งว่า การปฎิรูปการศึกษาเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ต้องขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น เมื่อมีการปฎิรูปศึกษาธิการในภูมิภาคเกิดขึ้นจนมีศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) ศึกษาธิการภาค (ศธภ.) และคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ซึ่งตนอยากให้หน่วยงานเหล่านี้ได้ทำความเข้าใจให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบถึงการปฎิรูปการศึกษาของศธ.ด้วย เพราะเรามีหลักคิดในการขับเคลื่อนเรื่องปฎิรูปการศึกษาต้องเกิดความเท่าเทียม ทั้งนี้ การศึกษาไทย 4.0 ต้องเริ่มจากเด็กและเยาวชนใส่ใจรักการอ่านให้มากกว่าการเล่นโซเชียล เพราะบางครั้งการเสพสื่อออนไลน์ที่ไม่ใช่ความจริงจนแชร์ข้อมูลเหล่านั้นแบบผิดๆ ส่งผลให้ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึง อยากให้สถานศึกษาทุกแห่งเพิ่มห
รูปภาพ
เยาวชนไทยควรปรับตัวอย่างไร กับ Thailand 4.0            สำหรับคำถามที่ว่า  ในยุค Thailand 4.0 เยาวชนไทยควรปรับตัวอย่างไร? ตัวน้องๆ เยาวชนเอง ในแง่ของเทคโนโลยี อาจจะไม่ต้องปรับตัวอะไรมา กนัก เพราะเด็กส่วนใหญ่เดี๋ยวนี้ใช้เวลาอยู่กับอินเทอร์เน็ตแทบจะตลอดเวลาและเรียนรู้ผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยตนเองมากขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่เยาวชนต้องเพิ่มเติมคือ ทักษะในการแสวงหาความรู้อย่างถูกวิธี และนำมาปรับใช้อย่างถูกต้อง ซึ่งทักษะที่จำเป็นสำหรับเยาวชนในยุค 4.0 ได้แก่ 1. การใช้อินเทอร์เน็ต  จะต้องสามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการค้นหาความรู้ให้เป็น และเกิดประโยชน์สูงสุด 2. ความคิดสร้างสรรค์  ต้องกล้าที่จะคิดนอกกรอบหรือต่อยอดจากตำราเรียน  3. การปฏิสัมพันธ์กับสังคม  เพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของสังคมและทำงานร่วมกันได้ ปัจจัยดังกล่าวจะสามารถสร้างและพัฒนาคน ให้รู้จักค้นหาความรู้ต่างๆ มาปะติดปะต่อและประยุกต์เข้ากับงานที่ทำได้จริง แพลตฟอร์มวิดีโอช่วยพัฒนาการศึกษา สื่อการเรียนรู้ที่มีภาพเคลื่อนไหวประกอบเพื่อสร้างความเข้าใจอย่างวิดีโอ ยังคงเป็นแหล่งหาความรู้ที่ได้รับความนิยมในช่วงที่ผ่า
รูปภาพ
แนะนำการเรียนยุค 4.0 : เด็กไทย จะรอใคร ไม่ได้แล้ว ทำความเข้าใจการเรียนยุค 4.0 อธิบายสั้นๆ คือ Education 3.0  คือ การเรียนโดยเน้นให้นักเรียนนักศึกษาแสวงหาองค์ความรู้จากแหล่งต่างๆอย่างอิสระ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์, สื่อดิจิทัล และสื่อออนไลน์ และนำมาประยุกต์แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันผ่านการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป Education 4.0  หรือ  การเรียนยุค 4.0   คือ การเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักเรียนนักศึกษา สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้ มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมต่างๆ มาตอบสนองความต้องการของสังคม ยกตัวอย่างในการเรียนการสอนยุค 4.0 ในยุค  IoT (Internet of Things)  ที่มีการเสพสื่ออย่างอิสระเช่นนี้ เราต้องยอมรับว่าสิ่งที่นักเรียนนักศึกษาได้เรียนรู้ไปแล้วนั้น มันก็คือ  “ของเก่า”  ในทันทีที่ออกจากห้องเรียน และพวกเขาก็จะรับข้อมูลใหม่ๆเข้ามาอยู่เสมอ ดังนั้นองค์ความรู้ที่แท้จริงจะมาจากการที่ครู  “ตั้งคำถาม”  ขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนได้  “ถกเถียง”  อันจะนำไปสู่การ  “คิดวิเคราะห์”  เพื่อค้นหา  “ข้อเท็จจริง”  และอันนำไปสู่  “ความรู้ความเข้าใจ”  
รูปภาพ
การศึกษาเด็กไทยในยุค Thailand 4.0 ในยุค Education 4.0 ที่การเรียนการสอนมุ่งสอนให้ผู้เรียน สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้ มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม  ดังนั้นการศึกษายุคใหม่ต้องเน้นแสวงหาการเรียนรู้ได้เอง อย่างท้าทาย สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ ต่อยอดความรู้เดิม คิดและประยุกต์ใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ได้ เหมาะกับตนเอง สังคม ตามสถานะการณ์ การจัดการศึกษา 4.0 จึงต้องนำเอาหลักการ เกี่ยวกับยุคสมัยใหม่ ที่ตรงความสนใจของ ชนพื้นเมืองดิจิทัล ที่มีชีวิตในโลกไซเบอร์ ซึ่งประกอบด้วยการจัดการศึกษาที่ก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันบนไซเบอร์ โดยใช้ขีดความสามารถของระบบเชื่อมโยงทางฟิสิคัลกับไซเบอร์ ที่มีอุปกรณ์สมัยใหม่ช่วย เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ฯลฯ เมื่อแนวโน้มการพัฒนาประเทศมุ่งเน้นที่การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม แล้วการศึกษาของประเทศควรจะพัฒนาระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมในยุค “ประเทศไทย 4.0” เมื่อการเข้าถึงเนื้อหาความรู้มีลักษณะเปิด เข้าถึงได้ง่าย การแสวงหาความรู้จึงทำได้เร็ว  เด็ก เยาวชนยุคใหม่ มีลักษณะเป็น ชนพื้นเ
รูปภาพ
การศึกษาในยุค Thailand 4.0 เมื่อเร็วๆ นี้ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “Education Reform & Entrance 4.0” ภายในงานมหกรรมการศึกษา Think Beyond 4.0 ที่โรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ Enconcept สาขาสยามโอเอซิส ชั้น 13 ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า “การศึกษาในยุค Thailand 4.0” มีความหมายมากกว่าการเตรียมความพร้อมของคนหรือให้ความรู้กับคนเท่านั้น แต่เป็นการเตรียมมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ กล่าวคือ นอกจากให้ความรู้แล้ว ต้องทำให้เขาเป็นคนที่รักที่จะเรียน มีคุณธรรม และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วย นั่นก็คือการสร้างคนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นทักษะในการคิดวิเคราะห์เป็นหลัก ในขณะเดียวกัน Thailand 4.0 คือ การพัฒนาประเทศให้มีความทันสมัย มีรายได้มากขึ้น และก้าวพ้นจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง โดยจะต้องผลิตนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาประเทศ และต้องสามารถติดต่อค้าขายกับนานาประเทศได้ด้วย ดังนั้น การศึกษาจึงต้องเร่งดำเนินการปฏิรูปการเรียนรู้ให้กับเด็กไทย ได้เข้าก้าวสู่ Thailand 4.0 อย่างเป็
รูปภาพ
ขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่ ไทยแลนด์ 4.0 ในปัจจุบันสังคมไทยก้าวเข้าสู่โลกยุคดิจิตอลอย่างเต็มตัว ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมล้วนดำเนินไปอย่างรวดเร็ว มีการแข่งขันสูง การเข้าถึงแหล่งข้อมูลปริมาณมหาศาลผ่านโลกออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้คุณลักษณะเด็กเปลี่ยนไป ประกอบกับรัฐบาลได้ประกาศนโยบายไทยแลนด์ 4.0 มีเป้าหมายให้ประเทศไทยก้าวออกจากกับดักรายได้ปานกลาง และก้าวไปสู่ประเทศรายได้สูงโดย ใช้นวัตกรรมทางเศรษฐกิจสังคมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสูงเพื่อการขับเคลื่อนประเทศ การศึกษาจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ในประเทศ เพื่อเตรียมกำลังคนให้พร้อมในการเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยสู่เวทีเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ ในงานเสวนาหัวข้อ “การศึกษาไทย 4.0” โดยสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อแลกเปลี่ยนถึงการจัดการศึกษาด้วยการบูรณาการเชิงสร้างสรรค์เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมที่กำลังจะก้าวเข้าสู่โลกยุคดิจิตอล ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศ
รูปภาพ
การศึกษาไทย 4.0 คนส่วนใหญ่ได้ยินคำว่า  “ไทยแลนด์ 4.0”  บ่อยมาก หลายคนก็ติดตามดูว่ามันคืออะไร และก็มีหลายหน่วยงานนำไปขยายความในองค์กรของตัวเองแล้วต่อด้วย 4.0 เช่น เกษตร 4.0 อุตสาหกรรมอาหาร 4.0 การท่องเที่ยว 4.0 อื่นๆ อีกหลาย 4.0 ดูเหมือนว่าอะไรๆ ก็ 4.0 มันทันสมัยดี การศึกษาก็เช่นเดียวกัน ไม่น้อยหน้ากว่าหน่วยงานอื่นๆ ก็ประกาศ การศึกษา 4.0  หลายคนก็ให้ความเห็นไปต่างๆ นานาตามความรู้สึกของตนเอง                ก่อนที่จะพูดถึงการศึกษา 4.0 ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าไทยแลนด์ 4.0 คืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร  ไทยแลนด์ 4.0 เป็นโมเดลในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ที่มีมาไม่น้อยกว่า 50 ปี  โดยในปี พ.ศ. 2504 เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรก ยุคนั้นน่าจะเป็น ไทยแลนด์ 1.0 สังคมเกษตรกรรมที่เน้นการเกษตรเป็นหลัก  ซึ่งในสมัยนั้นจะมีเพลงลูกทุ่งที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้ประชาชนรู้จักประกอบอาชีพด้านการเกษตร ดังเนื้อเพลง “พ.ศ. สองพันห้าร้อยสี่ ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม ชาวบ้านต่างมาชุมนุม มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าวถึงเรื่องราวที่
รูปภาพ
การศึกษา 4.0 การศึกษาเพื่ออนาคต ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลย องค์กรทุกภาคส่วนตั้งแต่ภาครัฐและเอกชนกำลังปฏิรูป พัฒนาตัวเองจากเดิมเพื่อเข้าสู่ยุคใหม่ ตามความหมาย 4.0 ของตัวเอง เรื่องของการศึกษาเองก็เป็นอีกเรื่องที่ถูกนำมาพูดถึงเหมือนกันมาดูกันว่าการศึกษา 4.0 จะมีความหมายอย่างไร การศึกษาในเรื่องที่ชอบ ยุค 4.0 อย่างนี้ต้องยอมรับเลยว่า โลกของเราเล็กลงอย่างมาก ความรู้ต่างๆไม่ว่าจะเป็นศาสตร์แขนงไหนก็ตามสามารถเรียนรู้ได้เพียงปลายนิ้วอยู่แล้ว นั่นทำให้การศึกษายุค 4.0 นั้นต้องเป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เรียน ศึกษาวิชาที่ตัวเองชอบได้โดยง่าย ทีนี้เมื่อได้เรียนสิ่งที่ชอบแล้วผู้เรียนก็จะมีความสุข อยู่ได้นาน พอเรียนได้นานก็จะเกิดองค์ความรู้จนเกิดการประยุกต์สร้างสรรค์อะไรใหม่ขึ้นมาตามแนวคิด นวัตกรรมสร้างชาติได้ การจัดการสอนแบบ  STEM คืออะไร เรื่องการจัดการเรียนการสอน เริ่มมีการพูดถึงแล้ว่า ในยุคการศึกษา 4.0 นั้นอาจจะต้องลดการเรียนการสอนแบบบรรยายลง แล้วนำวิธีการจัดการสอนแบบ STEM เข้ามาเพิ่ม การจัดการสอนแบบ STEM นี้ หมายถึงการนำศาสตร์ทั้ง 4 อย่างได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสต
รูปภาพ
     การศึกษาไทยยุค4.0 ให้เรียนในสิ่งที่ชอบ มูลนิธิไทยรัฐจัดงานสัมมนาผู้บริหารโรงเรียนไทยรัฐวิทยาทั่วประเทศ เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ณ โรงแรมลายทอง จังหวัดอุบลราชธานี  เปิดตัวด้วยความสามารถของเด็กๆจากโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 82 อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา การร่ายรำแสนจะอ่อนช้อย สวยงาม นักเรียนชุดนี้เคยไปสร้างความตื่นตาตื่นใจให้ กับชาวเกาหลีใต้มาแล้ว และยังไปแสดงงานสำคัญๆอีกหลายต่อหลายครั้งในประเทศ เพื่อเติมเต็มความรู้ให้กับผู้บริหารโรงเรียน ในภาควิชาการ นพ. ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปาฐกถาพิเศษ นายการุณ  สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พูดเรื่อง สพฐ.กับโรงเรียนไทยรัฐวิทยา และ ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา พูดเรื่องแผนการศึกษา ดร.กมลบอกว่าแผนการศึกษาฉบับปัจจุบัน มุ่งให้เด็กเกิดทักษะ 3R และ 8C พร้อมอธิบายว่า 3R ได้แก่ 1.Reading (อ่านออก), 2.(W) Riting (เขียนได้ ) และ 3. (A)Rithmetics (คิดเลขเป็น) ส่วน 8C ได้แก่ทักษะด้านต่างๆรวม 8 ทักษะ คือ 1.ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การแก้ปัญหา 2.ทักษะด้านการสร้างสรรค์