การศึกษาไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0

ดร.ชวลิต โพธิ์นคร  วิทยากรได้บรรยายด้านการพัฒนาประเทศต้องมีปัจจัยหลายด้านเพื่อมาขับเคลื่อนประกอบด้วยด้านสิ่งแวดล้อมด้านสังคมวัฒนธรรมเศรษฐกิจการเมืองโดยเฉพาะด้านการศึกษาซึ่งเป็นการพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถซึ่งต้องเน้นด้านคุณธรรมและจริยธรรมโดยเฉพาะด้านความซื่อสัตย์เพื่อเป็นการสร้างคนดีไปสู่สังคมโดยปีพ.ศ.2547-2548 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ได้พัฒนาโรงเรียนต่างๆให้เป็นโรงเรียนตามแนววิถีพุทธและโรงเรียนคริสต์เพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรมในเด็กไทยตั้งแต่วัยเด็กให้มีคุณลักษณะที่ประเทศต้องการยกตัวอย่างระบบการศึกษาของประเทศฟินแลนด์และประเทศจีนที่ได้นำระบบการวัดผลแบบ PISA
(Programme for International Student Assessment)มาใช้เพื่อนำมาพัฒนาเด็กซึ่งประสบความสำเร็จโดยเฉพาะในประเทศจีนที่มณฑลเซี่ยงไฮ้พบว่า เด็กนักเรียนมีผลคะแนนในการสอบวัดผลทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อยู่ในเกณฑ์ดีมาก
ทิศทางในการพัฒนาประเทศไทย มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยแบ่งออกเป็น
4 ยุค ได้แก่
  1. ประเทศไทย 1.0  เน้นการเกษตรเป็นหลัก
  2. ประเทศไทย 2.0 เน้นอุตสาหกรรมแต่เป็นอุตสาหกรรมเบา
  3. ประเทศไทย 3.0  เป็นอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์
  4. ประเทศไทย 4.0 เป็นยุคเทคโนโลยี Creative และ Innovation เน้นการสร้างให้คนไทยสามารถคิดเองได้

ประเทศไทย 4.0  จึงควรมีการเปลี่ยนวิธีการที่มีลักษณะสำคัญ คือ เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิมในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่และรัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่ High Value Services และเปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง
กรอบยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)  โรงเรียนและหน่วยงานต้องวางแผนงานให้รองรับกรอบยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 6 ด้าน คือ
    1. ความมั่นคง
    2. การสร้างความสามารถในการแข่งขัน
    3. การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์
    4. การสร้างโอกาสความเสมอภาคและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
    5. การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    6. การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งที่เป็นการวางรากฐานการพัฒนาประเทศในระยะยาวและเป็นจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนไปสู่การเป็นประเทศที่มั่งคั่งมั่นคงและยั่งยืน
ทิศทาง  ในการสร้างเด็กยุคไทยแลนด์ 4.0 สร้างเด็กและเยาวชนไทยให้มีความรู้ความสามารถ และมีทักษะในการประยุกต์ให้เข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ สร้างความคิดของเด็กและเยาวชนไปสู่ที่ยากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จของการยกระดับคุณภาพการศึกษาของชาติ การพัฒนาเด็กต้องพัฒนาทั้งด้านความรู้ และทักษะการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ การเรียนรู้จากปัญหาจริงที่เกิดขึ้น เรียกว่าเป็น Problem Based Learning
การพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21  เริ่มด้วยการฝึกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูเปลี่ยนจากครูสอนเป็นพี่เลี้ยง ครูฝึก (Coach) การเรียนแบบบูรณาการสหวิชาการ เชื่อมโยงความรู้กับจินตนาการ เปลี่ยนแปลงไปสู่รูปธรรมให้ผู้เรียนมีทักษะที่ต้องการ เช่น การทำงานร่วมกัน ความคิดสร้างสรรค์ และการสื่อสารที่ดี ซึ่งการจัดการศึกษาต้องสร้างความพอใจให้ผู้เรียนและท้าท้ายสู่การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนอยากเรียน
ปัจจุบันการศึกษาอยู่ในยุค 4.0 โดยผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อการสอนทุกรูปแบบ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล โดยเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะในการสืบค้นและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากข้อมูลในปัจจุบันมีจำนวนมาก ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการค้นหาและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
ที่มา: http://km.li.mahidol.ac.th/thai-studies-in-thailand-4-0/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้